วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

จำนวนสถานบริการสาธารณสุขในจังหวัดราชบุรี

สถานบริการสาธารณสุขภาครัฐและภาคเอกชนในจังหวัดราชบุรีจำแนกตามอำเภอได้ดังนี้

อ.เมืองราชบุรี
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล :  รัฐ  4 แห่ง เอกชน 4 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ  60 แห่ง เอกชน 60 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 14 แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 6 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 2 แห่ง เอกชน 3 แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : เอกชน 2 แห่ง
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 81 แห่ง โบราณ 7 แห่ง ยาสัตว์ 2 แห่ง
อ.บ้านโป่ง
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 2 แห่ง เอกชน 2 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 35 แห่ง เอกชน 36 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 14 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 6 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 3 แห่ง เอกชน 2 แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : เอกชน 1 แห่ง
  • สหคลินิค : เอกชน 1 แห่ง
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 38 แห่ง โบราณ 7 แห่ง ยาสัตว์ 3 แห่ง
อ.โพธาราม
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 17 แห่ง เอกชน 17 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 4 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 7 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 6 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : เอกชน 1 แห่ง
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 30 แห่ง โบราณ 1 แห่ง ยาสัตว์ 6 แห่ง
อ.ดำเนินสะดวก
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 13 แห่ง เอกชน 13 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 2 แห่ง เอกชน 0 แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 5 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : ไม่มี
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 25 แห่ง โบราณ 9 แห่ง ยาสัตว์ - แห่ง
อ.บางแพ
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : ไม่มี
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 11 แห่ง โบราณ 1 แห่ง ยาสัตว์ - แห่ง
อ.ปากท่อ
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 0 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 2 แห่ง เอกชน 2 แห่ง
  • ทันตกรรม : ไม่มี
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : ไม่มี
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 6 แห่ง โบราณ 1 แห่ง ยาสัตว์ - แห่ง
อ.วัดเพลง
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 2 แห่ง เอกชน 2 แห่ง
  • ทันตกรรม : ไม่มี
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : ไม่มี
  • เทคนิคการแพทย์ : ไม่มี
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 2 แห่ง โบราณ 1 แห่ง ยาสัตว์ - แห่ง
อ.จอมบึง
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 0 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • ทันตกรรม : ไม่มี
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 5 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 14 แห่ง โบราณ 2 แห่ง ยาสัตว์ 1 แห่ง
อ.สวนผึ้ง
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 1 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • ทันตกรรม : ไม่มี
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 2 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : เอกชน 1 แห่ง
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 5 แห่ง โบราณ 0 แห่ง ยาสัตว์ 1 แห่ง
อ.บ้านคา
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : ไม่มี
  • เวชกรรม : ไม่มี
  • ทันตกรรม : ไม่มี
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : ไม่มี
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 1 แห่ง เอกชน - แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : ไม่มี
  • สหคลินิค : ไม่มี
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 4 แห่ง โบราณ - แห่ง ยาสัตว์ 1 แห่ง
รวมทั้งจังหวัด
  • โรงพยาบาล/สถานพยาบาล : รัฐ 13 แห่ง เอกชน 7 แห่ง
  • เวชกรรม : รัฐ 132 แห่ง เอกชน 133 แห่ง
  • ทันตกรรม : รัฐ 32 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • การพยาบาลและผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง : รัฐ 33 แห่ง เอกชน 1 แห่ง
  • เทคนิคการแพทย์ : รัฐ 14 แห่ง เอกชน 6 แห่ง
  • แพทย์แผนไทย : เอกชน 5 แห่ง
  • สหคลินิค : เอกชน 1 แห่ง
  • ร้านขายยา : ปัจจุบัน 216 แห่ง โบราณ 29 แห่ง ยาสัตว์ 14 แห่ง
จำนวนสถานพยาบาลสัตว์ (รวม 9 แห่ง)
  • อ.เมืองราชบุรี :  5 แห่ง
  • อ.บ้านโป่ง : 1 แห่ง
  • อ.โพธาราม : 1 แห่ง
  • อ.ดำเนินสะดวก : 1 แห่ง
  • อ.ปากท่อ : 1 แห่ง
  • อ.บางแพ : ไม่มี
  • อ.วัดเพลง : ไม่มี
  • อ.จอมบึง : ไม่มี
  • อ.สวนผึ้ง : ไม่มี
  • อ.บ้านคา : ไม่มี

ที่มาข้อมูล
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี ณ วันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2553 และปศุสัตว์จังหวัดราชบุรี
อ้างถึงใน กองแผนและงบประมาณ ฝ่านนโยบายและแผน. (2553). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา (พ.ศ.2554-2558).องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี. (หน้า 13).
อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กำเนิดโรงพยาบาลดำเนินสะดวก


มองย้อนอดีตไปเมื่อประมาณห้าสิบกว่าปีก่อน ในสมัยนั้นอำเภอดำเนินสะดวกยังไม่มีสถานพยาบาลที่ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในพื้นที่ เมื่อมีผู้เจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องเดินทางไปรักษายังโรงพยาบาลราชบุรี โรงพยาบาลสมุทรสงคราม หรือโรงพยาบาลโพธาราม

และจากการคมนาคมที่ยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน  เนื่องจากไม่มีทางรถยนต์ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องใช้การเดินทางโดยทางเรือเป็นเส้นทางสัญจรหลัก ทำให้มีความยากลำบากต่อการเข้าถึงบริการ ประกอบกับในระยะนั้น (พ.ศ.2500-2501) ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาของความยากจน และความขาดแคลนบริการขั้นพื้นฐาน อีกทั้งยังมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ และอหิวาตกโรค ซึ่งจังหวัดราชบุรีก็เป็น 1 ใน 12 จังหวัด ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตติดต่อโรคร้ายแรง เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน

ในช่วงนั้นมีผู้ป่วยด้วยโรคอหิวาตกโรคเป็นจำนวนมาก พบว่ามีผู้ป่วยกว่า 6 พันคน และเสียชีวิตกว่า 900 คน ทำให้ทางราชการและประชาชนชาววอำเภอดำเนินสะดวก ตระหนักถึงความสำคัญของการมีบริการรักษาพยาบาลแผนปัจจุบันอยู่ในท้องถิ่นและใกล้ชุมชน

จากเหตุการณ์ดังกล่าวในปี พ.ศ.2502 นายอำเภอชาญ เวชเจริญ นายอำเภอดำเนินสะดวก จึงได้ร่วมกับพ่อค้า คหบดี และประชาชนชาวอำเภอดำเนินสะดวกได้รวบรวมที่ดินที่มีผู้บริจาครวมกันได้ประมาณ 20 ไร่ และทรัพย์สินที่ประชาชนบริจาคเพื่อใช้ก่อสร้างอาคารต่างๆ พร้อมทั้งร่วมมือ ร่วมแรงกันก่อสร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอดำเนินสะดวก และประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ ขึ้นในวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2503 โดยมีนายแพทย์สมนึก วิทิศวรการ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการคนแรกของโรงพยาบาล

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก เกิดขึ้นได้เพราะการริเริ่มของนายอำเภอ ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ ท่านย้ายมาจากอำเภอบางพลี จ.สมุทรปราการ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอดำเนินสะดวก เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2501
สถานพยาบาลในอำเภอดำเนินสะดวกในขณะนั้น ทั้งอำเภอมีสถานีอนามัย 1 แห่ง สถานพยาบาลของเอกชน 2-3 แห่ง นอกจากนี้จะมีแพทย์ประจำตำบลอยู่ตำบลละ 1 คน โดยสรุปแล้วบุคลากรทางการแพทย์ของอำเภอดำเนินสะดวก ซึ่งเป็นฝ่ายข้าราชการไม่มีผู้ใดเลยที่จบปริญญาทางการแพทย์และการพยาบาล ประชากรจำนวน 7-8 หมื่นคนของอำเภอดำเนินสะดวก เมื่อเกิดอาการเจ็บไข้ได้ป่วยขึ้น ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการจากโรงพยาบาลของจังหวัด หรือของอำเภออื่นๆ ได้ ก็ต้องรับบริการจากสถานพยาบาลและบุคลากรภายในอำเภอตามที่กล่าวมาข้างต้น หรือมิฉะนั้นก็ต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลจากหมอแผนโบราณ

ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ ทราบถึงสภาพปัญหาการขาดแคลนในด้านการแพทย์ และการรักษาพยาบาล จึงได้ริเริ่มที่จะจัดตั้งโรงพยาบาลดำเนินสะดวกขึ้น ได้ทำการปรึกษากับหัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ และพ่อค้าประชาชน ผู้นำท้องถิ่น ซึ่งในตอนต้นปี พ.ศ.2502 ได้ร่วมมือกันจัดหาทุนทรัพย์เพื่อสมทบเป็นทุนในการก่อสร้าง จัดหาที่ดินที่เหมาะสม เพื่อใช้เป็นสถานที่ก่อสร้างโรงพยาบาล และได้เสนอขอรับการสนับสนุนไปยังกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้รับความร่วมมือด้วยดีจากทุกฝ่าย

ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ ประสบความสำเร็จในการสร้างโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ก็เพราะชาวดำเนินสะดวกต้องการบริการทางการแพทย์ และการรักษาพยาบาลที่ทันสมัย ทันท่วงที ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลของจังหวัด ซึ่งต้องใช้เวลาเดินทางราว 2-3 ชั่วโมง ซึ่งถ้าผู้ป่วยมีอาการหนัก อาจทำให้เสียชีวิตก่อนได้รับการรักษาก็เป็นได้

โรงพยาบาลดำเนินสะดวก เริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี พ.ศ.2503 โดยมีนายแพทย์สมนึก วิทิศวรการ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรกและควบคุมการก่อสร้างด้วย  และก่อนที่โรงพยาบาลนี้จะเปิดอย่างเป็นทางการ ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ ก็ได้ย้ายไปรับราชการที่จังหวัดอื่น เมื่อปี พ.ศ.2504 ซึ่งชีวิตในราชการของท่านเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ ตำแหน่งสุดท้ายก่อนท่านจะเกษียณอายุราชการ คือ ตำแหน่ง  ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ปัจจุบันถึงแก่กรรมแล้ว

ต่อมาในปี พ.ศ.2505 โรงพยาบาลได้เปิดดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2507 สมัยนายแพทย์สงวน ขันทอง เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล จึงได้จัดให้มีการเปิดอย่างเป็นทางการขึ้นโดยมี พระบำราศนราดูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธีเปิด

ประวัติ ร.ต.ท.ชาญ เวชเจริญ โดยสังเขป
เกิดเมื่อวันที่ 18 ก.พ.2457 เป็นบุตรของนายไผ่-นางเงิน เวชเจริญ เกิดที่อำเภอวังกระโจม จ.นครนายก
สมรสกับ นางสง่า กิตติรักษ์ มีบุตร-ธิดา รวม 4 ท่าน
ประวัติการศึกษา
  • จบธรรมศาสตร์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง(ในสมัยนั้น)
ประวัติราชการ
  • เริ่มรับราชการเป็นอักษรเลข จ.นครนายก
  • ปลัดอำเภอองครักษ์ สายงานสอบสวน กระทั่งสายงานดังกล่าวโอนไปขึ้นกับกรมตำรวจ จึงได้รับยศร้อยตำรวจโท
  • ปลักอำเภอเมืองชัยนาท
  • นายอำเภอเมืองแพร่ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่
  • นายอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว จังหวัดน่าน
  • นายอำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี
  • นายอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
  • นายอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • ปลัดจังหวัดน่านและนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองน่าน
  • ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง
  • รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
  • ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง เกษียณอายุเมื่อ พ.ศ.2518

ที่มา :
โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. (2553). กึ่งศตวรรษ 50 ปี โรงพยาบาลดำเนินสะดวก. นครปฐม : เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป. (หน้า 30-41)

อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สภาวการณ์ของเด็กและเยาวชน จ.ราชบุรี ปี 2551-2552

สภาวการณ์ของเด็กและเยาวชน จ.ราชบุรี ปี 2551-2552 นี้ เป็นงานวิจัยส่วนหนึ่งใน โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด (Child Watch) ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับกองทุนคุ้มครองเด็กและศูนย์เฝ้าระวังและเตือนภัยทางสังคม ภายใต้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการกำกับงานทางวิชาการ จากสถาบันรามจิตติภายใต้มูลนิธิภูมิปัญญา และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)

การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยทีมงานวิจัยระดับจังหวัด ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัดของประเทศ ในส่วนของข้อมูลสภาวการณ์ของเด็กและเยาวชน จ.ราชบุรี ปี 2551-2552 ได้นำข้อมูลมาจาก "บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เรื่องพฤติกรรมเด็กและเยาวชน โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคกลาง ปี 2551-2552" ซึ่งนำเสนอเป็นรูปหนังสือเมื่อเดือน เมษายน 2553 ประกอบด้วยข้อมูลของ 14 จังหวัดภาคกลาง ได้แก่ กาญจนบุรี ชัยนาท ประจวบคิรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครสวรรค์ และอุทัยธานี ซึ่งทีมงานวิจัย ประกอบด้วย ตัวแทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานตำรวจ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และตัวแทนมหาวิทยาลัยราชภัฎซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

ในที่นี้ ผู้จัดทำได้นำข้อมูลเฉพาะของ จังหวัดราชบุรี เทียบกับข้อมูลเฉลี่ยระดับภาคกลางทั้ง 14 จังหวัด มานำเสนอเพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ นำไปพิจารณาใช้ประโยชน์ในการพัฒนา ปรับปรุงแก้ไขต่อไป

สภาวการณ์ของเด็กและเยาวชน จ.ราชบุรี ปี 2551-2552

ข้อมูลพื้นฐานของ จ.ราชบุรีโดยสังเขป

  • ประชากร 812,757 คน
  • ประชากรวัยเรียน
    -ช่วงอายุ 0-18 ปี 208,674 คน
    -ช่วงอายุ 0-25 ปี 294,156 คน
  • พื้นที่ 5,196.462 ตารางกิโลเมตร
  • รายได้ต่อหัวประชากรเฉลี่ย 130,600 บาท

ข้อมูลของผู้ตอบแบบสอบถามภาคกลาง จ.ราชบุรี

  • เพศ
    -ชาย 904 คน, หญิง 958 คน, ชายรักชาย 21 คน, หญิงรักหญิง 42 คน, ไม่ตอบ 8 คน
  • การศึกษาปัจจุบัน
    -ประถม 400 คน, มัธยมต้น 393 คน , มัธยมปลาย 403 คน, อาชีวะ 299 คน , อุดมศึกษา 419 คน,ไม่ตอบ 19 คน
  • อาชีพของหัวหน้าครอบครัว
    -พนักงานบริษัทเอกชน 81 คน, รับราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 391 คน, เกษตรกร 385 คน, ธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย 413 คน, รับจ้างทั่วไป 613 คน, ว่างงาน/เกษียนณอายุ 14 คน, ประกอบอาชีพอื่นๆ 12 คน, ไม่ตอบ 24 คน

สภาวะด้านสุขภาพอนามัย จ.ราชบุรี (ตัวเลขในวงเล็บเป็นค่าเฉลี่ย 14 จังหวัดภาคกลาง)

  • อัตราทารกตายแรกคลอดต่อพันการคลอด 6.3 (6.75)
  • ร้อยละของทารกน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม 9.00 (8.19)
  • ร้อยละเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์
    -อนุบาล NA (5.76)
    -ประถม NA (4.62)
  • ร้อยละเด็กอ้วน
    -อนุบาล NA (4.92)
    -ประถม NA (5.74)
  • น้ำหนักเฉลี่ย (กิโลกรัม)
    -ประถม 35.68 (37.36)
    -มัธยมต้น 48.20 (48.48)
    -มัธยมปลาย 53.68 (55.25)
    -อาชีวะ 55.19 (55.33)
    -อุดมศึกษา 56.23 (57.45)
  • ส่วนสูงเฉลี่ย (เซนติเมตร)
    -ประถม 141.25 (143.50)
    -มัธยมต้น 157.84 (158.11)
    -มัธยมปลาย 164.31 (164.74)
    -อาชีวะ 164.94 (164.81)
    -อุดมศึกษา 165.94 (165.46)
  • ร้อยละเด็กที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกินเกณฑ์ปกติ
    -ประถม 1.3 (5.8)
    -มัธยมต้น 8.1 (8.1)
    -มัธยมปลาย 4.1 (9.9)
    -อาชีวะ 8.6 (9.7)
    -อุดมศึกษา 8.6 (10.0)
  • ร้อยละเด็กที่เล่นกีฬาเป็นประจำ
    -ประถม 62.0 (50.9)
    -มัธยมต้น 37.1 (40.9)
    -มัธยมปลาย 39.8 (37.4)
    -อาชีวะ 27.2 (26.0)
    -อุดมศึกษา 26.9 (33.7)
  • เวลาที่ใช้เล่นกีฬาต่อวัน (นาที)
    -ประถม 73.34 (77.64)
    -มัธยมต้น 101.11 (88.52)
    -มัธยมปลาย 95.36 (87.49)
    -อาชีวะ 108.18 (87.85)
    -อุดมศึกษา 82.67 (89.48)
  • ร้อยละของเด็กที่ทาน Fast Food เป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -ประถม 65.9 (64.9)
    -มัธยมต้น 66.4 (68.8)
    -มัธยมปลาย 72.4 (66.7)
    -อาชีวะ 62.3 (57.3)
    -อุดมศึกษา 41.8 (49.5)
  • ร้อยละเด็กประถมที่ทานขนมกรุบกรอบเป็นครั้งคราวถึงประจำ 90.3 (93.2)
  • ร้อยละเด็กประถมที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นครั้งคราวถึงประจำ 91.6 (94.5)
  • ร้อยละเด็กประถมที่ทานผักผลไม้ 38.4 (35.2)
  • ร้อยละเด็กดื่มเหล้าเป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -มัธยมต้น 13.8 (14.9)
    -มัธยมปลาย 30.2 (26.7)
    -อาชีวะ 46.8 (42.4)
    -อุดมศึกษา 40.2 (50.3)
  • ร้อยละเด็กสูบบุหรี่เป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -มัธยมต้น 6.2 (6.2)
    -มัธยมปลาย 11.1 (9.7)
    -อาชีวะ 19.7 (17.6)
    -อุดมศึกษา 20.8 (19.3)
  • ร้อยละเด็กสวมหมวกกันน็อคทุกครั้งเมื่อขี่หรือซ้อนมอเตอร์ไซต์
    -ประถม 30.8 (20.1)
    -มัธยมต้น 12.9 (15.3)
    -มัธยมปลาย 17.6 (17.6)
    -อาชีวะ 20.4 (30.4)
    -อุดมศึกษา 18.4 (23.9)
  • ร้อยละเด็กที่ความคิดอยากทำศัลยกรรม
    -มัธยมต้น 22.1 (20.3)
    -มัธยมปลาย 26.5 (22.9)
    -อาชีวะ 23.1 (26.9)
    -อุมศึกษา 28.1 (23.8)
  • ร้อยละเด็กเคยใช้ยาลดความอ้วน
    -มัธยมต้น 4.4 (3.8)
    -มัธยมปลาย 2.8 (5.9)
    -อาชีวะ 3.4 (10.1)
    -อุดมศึกษา 5.6 (7.2)
  • ร้อยละของเด็กที่เครียดจนนอนไม่หลับหรืออาเจียน
    -ประถม 24.9 (27.3)
    -มัธยมต้น 29.4 (28.2)
    -มัธยมปลาย 39.0 (35.8)
    -อาชีวะ 38.2 (33.5)
    -อุดมศึกษา 38.2 (37.9)
  • ร้อยละของเด็กที่ดูโทรทัศน์/VDO/VCD เป็นประจำ
    -ประถม 77.9 (76.5)
    -มัธยมต้น 73.6 (73.2)
    -มัธยมปลาย 72.9 (70.5)
    -อาชีวะ 69.6 (68.8)
    -อุดมศึกษา 54.8 (58.6)
  • เวลาที่ใช้ดูโทรทัศน์/VDO/VCD (นาที)
    -ประถม 146.90 (148.28)
    -มัธยมต้น 183.32 (172.58)
    -มัธยมปลาย 180.27 (164.92)
    -อาชีวะ 193.44 (173.35)
    -อุดมศึกษา 160.74 (160.64)
  • จำนวนเด็กพยายามฆ่าตัวตาย/ฆ่าตัวตายสำเร็จ (ต่อประชากรแสนคน)
    -ภาพรวม 77.51/1.36 (84.24/3.66)
    -อายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี 35.46/0.00 (47.44/1.16)
    -อายุ 19-25 ปี 180.15/4.68 (173.63/9.71)
  • จำนวนเด็กบาดเจ็บ/เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์ (ต่อประชากรแสนคน) NA/NA (1,525.55/26.00)

สภาวะด้านการศึกษา จ.ราชบุรี (ตัวเลขในวงเล็บเป็นค่าเฉลี่ย 14 จังหวัดภาคกลาง)

  • ร้อยละของการเรียนต่อ ม.4 92.94 (85.88)
  • ร้อยละของการเรียนต่ออุดมศึกษา 84.68 (70.93)
  • ร้อยละครูมัธยมขาดแคลน (ไม่รวมครูอัตราจ้าง/รวมครูอัตราจ้าง) 14.30/18.51 (9.83/14.78)
  • ร้อยละครูประถมขาดแคลนแยกตามขนาดโรงเรียน
    -นักเรียนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 300 คน 4.31 (5.81)
    -นักเรียน 301-1,000 คน 6.90 (3.78)
    -นักเรียนมากกว่า 1,000 คน 3.19 (1.35)
  • ร้อยละงบประมาณท้องถิ่นเพื่อการศึกษา
    -อบต. 3.93 (11.18)
    -อบจ. 2.19 (9.12)
    -เทศบาล 12.09 (16.66)
  • เวลาเฉลี่ยที่ใช้ต่อวันในการทำกิจกรรรมต่างๆ
    1.อ่านหนังสือเรียน (นาที)
    -ประถม 66.98 (71.60)
    -มัธยมต้น 80.33 (73.32)
    -มัธยมปลาย 96.86 (81.13)
    -อาชีวะ 75.05 (74.53)
    -อุดมศึกษา 89.11 (91.27)
    2.อ่านหนังสือเป็นงานอดิเรก (เรื่องสั้น/นิยาย/การ์ตูน) (นาที)
    -ประถม 74.14 (67.53)
    -มัธยมต้น 90.81 (80.82)
    -มัธยมปลาย 111.51 (87.57)
    -อาชีวศึกษา 101.05 (80.30)
    -อุดมศึกษา 92.43 (86.07)
    3.อ่านหนังสือพิมพ์ (นาที)
    -ประถม 45.74 (44.25)
    -มัธยมต้น 50.07 (37.12)
    -มัธยมปลาย 44.01 (36.15)
    -อาชีวะ 42.40 (42.51)
    -อุดมศึกษา 40.74 (39.35)
    4.อ่านข่าวในเว็บไซต์ (นาที)
    -ประถม 53.76 (62.24)
    -มัธยมต้น 71.37 (53.33)
    -มัธยมปลาย 72.64 (55.30)
    -อาชีวะ 67.86 (65.61)
    -อุดมศึกษา 54.60 (53.44)
    5.เรียนพิเศษ (นาที)
    -ประถม 199.92 (192.27)
    -มัธยมต้น 213.64 (190.79)
    -มัธยมปลาย 214.85 (201.89)
    -อาชีวะ 197.14 (207.80)
    -อุดมศึกษา 160.00 (176.73)
  • ร้อยละของเด็กที่ทำกิจกรรมต่างๆ เป็นประจำ
    1.อ่านหนังสือเรียน (ร้อยละ)
    -ประถม 60.5 (55.6)
    -มัธยมต้น 38.3 (44.1)
    -มัธยมปลาย 42.0 (42.9)
    -อาชีวะ 24.3 (31.0)
    -อุดมศึกษา 40.9 (41.3)
    2.อ่านหนังสือเป็นงานอดิเรก (เรื่องสั้น/นิยาย/การ์ตูน) (ร้อยละ)
    -ประถม 45.6 (45.6)
    -มัธยมต้น 32.7 (40.5)
    -มัธยมปลาย 30.2 (32.7)
    -อาชีวะ 32.0 (27.2)
    -อุดมศึกษา 24.0 (29.0)
    3.อ่านหนังสือพิมพ์ (ร้อยละ)
    -ประถม 21.6 (19.2)
    -มัธยมต้น 20.9 (23.9)
    -มัธยมปลาย 29.6 (26.8)
    -อาชีวะ 30.0 (24.1)
    -อุดมศึกษา 32.6 (31.4)
    4.อ่านข่าวในเว็บไซต์ (ร้อยละ)
    -ประถม 13.9 (10.3)
    -มัธยมต้น 9.5 (11.3)
    -มัธยมปลาย 12.6 (14.3)
    -อาชีวะ 14.9 (13.7)
    -อุดมศึกษา 18.4 (19.2)
    5.เรียนพิเศษ (ร้อยละ)
    -ประถม 32.6 (27.4)
    -มัธยมต้น 40.9 (20.1)
    -มัธยมปลาย 40.6 (30.3)
    -อาชีวะ 6.4 (2.8)
    -อุดมศึกษา 4.6 (2.1)
  • ค่าใช้จ่าเฉลี่ยต่อเดือนในการเรียนพิเศษ (บาท)
    -มัธยมต้น 1,003.67 (1,035.93)
    -มัธยมปลาย 1,236.32 (1,290.17)
    -อาชีวะ 1,235.71 (2,125.10)
    -อุดมศึกษา 2,425.00 (2,081.14)
  • ร้อยละนักเรียนที่โดดเรียนเป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -ประถม 7.1 (8.8)
    -มัธยมต้น 21.6 (20.4)
    -มัธยมปลาย 42.0 (35.1)
    -อาชีวะ 62.7 (56.5)
    -อุดมศึกษา 41.9 (43.5)
  • ร้อยละนักเรียนที่เคยลอกข้อสอบเพื่อนในรอบ 1 ปีการศึกษา
    -ประถม 33.6 (35.6)
    -มัธยมต้น 45.9 (55.5)
    -มัธยมปลาย 71.4 (76.2)
    -อาชีวะ 72.4 (63.4)
    -อุดมศึกษา 51.7 (62.8)
  • ร้อยละนักเรียนที่รู้สึกปลอดภัยเวลาไปโรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย
    -ประถม 28.0 (36.9)
    -มัธยม 15.6 (22.5)
    -มัธยมปลาย 11.6 (27.0)
    -อาชีวะ 13.3 (22.4)
    -อุดมศึกษา 16.3 (24.2)
  • ร้อยละของนักเรียนที่ชอบไปโรงเรียน/วิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 93.7 (92.8)
    -มัธยมต้น 88.4 (92.0)
    -มัธยมปลาย 91.6 (93.6)
    -อาชีวะ 95.9 (91.0)
    -อุดมศึกษา 91.1 (89.6)
  • ร้อยละนักเรียนที่ออกกลางคัน
    -ประถม 0.24 (0.62)
    -ประถมขยายโอกาส 0.73 (1.89)
    -มัธยม 0.37 (1.69)
    -อาชีวะ 2.29 (5.54)
    -อุดมศึกษา 1.55 (2.18)
  • ร้อยละนักเรียนที่ย้ายโรงเรียน
    -ประถม 0.83 (2.01)
    -ประถมขยายโอกาส 1.94 (2.50)
    -มัธยม 0.07 (1.19)
    -อาชีวะ 0.00 (0.57)
    -อุดมศึกษา 0.00 (0.65)
  • คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนเฉลี่ย (O-NET)
    -คณิตศาสตร์ 38.81 (36.18)
    -วิทยาศาสตร์ 35.06 (33.74)
    -อังกฤษ 30.76 (29.74)
    -ภาษาไทย 50.51 (47.38)
    -สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรรม 36.11 (34.3)

สภาวะด้านสังคม จ.ราชบุรี (ตัวเลขในวงเล็บเป็นค่าเฉลี่ย 14 จังหวัดภาคกลาง)

  • ค่าขนมหรือค่าใช้จ่ายที่เด็กได้จากผู้ปกครองเฉลี่ยวันละ (บาท)
    -ประถม 32.95 (29.52)
    -มัธยมต้น 53.97 (47.96)
    -มัธยมปลาย 63.32 (59.01)
    -อาชีวะ 94.88 (86.60)
    -อุดมศึกษา 106.03 (111.65)
  • ค่าใช้จ่ายของเด็กเฉลี่ยต่อวัน (บาท)
    -ประถม 22.84 (20.10)
    -มัธยมต้น 41.75 (35.93)
    -มัธยมปลาย 48.14 (43.91)
    -อาชีวะ 72.77 (68.00)
    -อุดมศึกษา 87.83 (88.45)
  • ร้อยละเด็กที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่
    -ประถม 19.2 (31.2)
    -มัธยมต้น 27.3 (32.4)
    -มัธยมปลาย 24.1 (29.1)
    -อาชีวะ 26.1 (33.7)
    -อุดมศึกษา 41.5 (46.3)
  • ร้อยละเด็กคุยกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง/ญาติผู้ใหญ่เป็นประจำ
    -ประถม 82.9 (79.4)
    -มัธยมต้น 75.2 (74.2)
    -มัธยมปลาย 77.1 (74.0)
    -อาชีวะ 62.8 (66.2)
    -อุดมศึกษา 61.2 (57.3)
  • เวลาที่ใช้คุยกับพ่อแม่/ผู้ปกครอง/ญาติผู้ใหญ่ (นาที)
    -ประถม 89.90 (99.95)
    -มัธยมต้น 183.98 (124.27)
    -มัธยมปลาย 213.19 (138.92)
    -อาชีวะ 161.15 (132.58)
    -อุดมศึกษา 127.14 (103.41)
  • ร้อยละของเด็กที่เที่ยวหรือทำกิจกรรมกับพ่อแม่พี่น้องเป็นครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 78.9 (89.3)
    -มัธยมต้น 93.4 (90.9)
    -มัธยมปลาย 90.0 (91.1)
    -อาชีวะ 81.7 (87.4)
    -อุดมศึกษา 83.5 (81.1)
  • ร้อยละของเด็กที่ช่วยงานบ้านเป็นประจำ
    -ประถม 65.1 (65.8)
    -มัธยมต้น 64.9 (67.1)
    -มัธยมปลาย 72.1 (64.8)
    -อาชีวะ 53.4 (59.8)
    -อุดมศึกษา 55.8 (48.2)
  • เวลาที่ช่วยงานบ้านต่อวัน (นาที)
    -ประถม 95.44 (87.01)
    -มัธยมต้น 107.27 (91.01)
    -มัธยมปลาย 103.49 (89.31)
    -อาชีวะ 134.91 (96.08)
    -อุดมศึกษา 80.04 (82.55)
  • ร้อยละเด็กเคยเป็นอาสาสมัครทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม
    -ประถม 45.8 (58.5)
    -มัธยมต้น 44.5 (56.1)
    -มัธยมปลาย 70.8 (63.9)
    -อาชีวะ 48.5 (49.9)
    -อุดมศึกษา 66.8 (65.2)
  • ร้อยละของเด็กที่ใส่บาตรหรือทำบุญครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 79.6 (89.1)
    -มัธยมต้น 89.3 (90.0)
    -มัธยมปลาย 86.5 (85.7)
    -อาชีวะ 82.3 (85.3)
    -อุดมศึกษา 84.0 (75.8)
  • ร้อยละของเด็กที่สวดมนต์ก่อนนอนครั้งถึงเป็นประจำ
    -ประถม 71.3 (77.2)
    -มัธยมต้น 69.1 (71.1)
    -มัธยมปลาย 70.4 (68.4)
    -อาชีวะ 65.5 (63.2)
    -อุดมศึกษา 72.6 (70.0)
  • ร้อยละเด็กที่นั่งสมาธิ สงบจิตใจ ครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 67.5 (72.9)
    -มัธยมต้น 55.3 (60.9)
    -มัธยมปลาย 62.3 (59.8)
    -อาชีวะ 42.4 (49.8)
    -อุดมศึกษา 60.1 (56.3)
  • ร้อยละที่เด็กไปวัด/โบสถ์/มัสยิด ครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 75.5 (84.6)
    -มัธยมต้น 80.3 (82.6)
    -มัธยมปลาย 81.2 (79.3)
    -อาชีวะ 76.9 (78.8)
    -อุดมศึกษา 78.5 (74.4)
  • ร้อยละของเด็กที่มีโทรศัพท์มือถือ
    -ประถม 49.4 (47.2)
    -มัธยมต้น 72.8 (74.3)
    -มัธยมปลาย 84.4 (89.2)
    -อาชีวะ 93.0 (87.7)
    -อุดมศึกษา 93.0 (95.0)
  • ร้อยละของเด็กที่มีคอมพิวเตอร์
    -ประถม 34.9 (29.0)
    -มัธยมต้น 40.2 (37.3)
    -มัธยมปลาย 45.4 (47.4)
    -อาชีวะ 52.3 (41.2)
    -อุดมศึกษา 40.0 (47.1)
  • ร้อยละของเด็กที่มีจักรยาน
    -ประถม 79.3 (71.8)
    -มัธยมต้น 50.1 (51.5)
    -มัธยมปลาย 38.7 (32.9)
    -อาชีวะ 30.9 (24.9)
    -อุดมศึกษา 43.1 (20.6)
  • ร้อยละของเด็กที่มีจักยานยนต์
    -ประถม 15.2 (17.7)
    -มัธยมต้น 28.8 (27.7)
    -มัธยมปลาย 44.4 (38.8)
    -อาชีวะ 54.0 (51.5)
    -อุดมศึกษา 43.8 (46.3)
  • ร้อยละเด็กที่มีกล้องดิจิตอล
    -มัธยมต้น 7.6 (6.5)
    -มัธยมปลาย 12.9 (12.0)
    -อาชีวะ 18.1 (11.0)
    -อุดมศึกษา 11.1 (15.5)
  • ร้อยละของเด็กที่มีรถยนต์
    -มัธยมต้น 6.4 (3.2)
    -มัธยมปลาย 8.2 (4.3)
    -อาชีวะ 10.7 (9.5)
    -อุดมศึกษา 6.5 (5.4)
  • ร้อยละเด็กที่เที่ยวกับเพื่อนตอนกลางคืนครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 5.5 (10.7)
    -มัธยมต้น 26.1 (23.4)
    -มัธยมปลาย 37.2 (32.5)
    -อาชีวะ 49.7 (47.2)
    -อุดมศึกษา 51.3 (52.8)
  • ร้อยละเด็กที่ซื้อของตามห้างสรรพสินค้าครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 75.9 (80.2)
    -มัธยมต้น 83.2 (82.9)
    -มัธยมปลาย 82.0 (83.0)
    -อาชีวะ 76.9 (80.3)
    -อุดมศึกษา 76.5 (87.9)
  • ร้อยละเด็กที่ดูภาพยนต์ซีรี่ส์เกาหลี/ญี่ปุ่นครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 43.5 (45.9)
    -มัธยมต้น 49.1 (53.6)
    -มัธยมปลาย 59.7 (56.9)
    -อาชีวะ 58.0 (54.8)
    -อุดมศึกษา 57.1 (55.5)
  • ร้อยละเด็กที่ดูการ์ตูนโป๊/วีซีดีโป๊/เว็บโป๊/คลิบโป๊ ครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 6.6/3.8/5.9/6.3 (7.9/5.8/5.2/8.2)
    -มัธยมต้น 14.4/11.2/13.0/21.9 (19.2/17.0/15.4/25.1)
    -มัธยมปลาย 19.3/23.4/23.5/35.2 (19.2/19.7/18.5/32.6)
    -อาชีวะ 34.6/34.9/30.5/44.7 (22.0/25.0/23.6/36.8)
    -อุดมศึกษา 19.6/25.6/23.5/33.3 (19.5/23.8/22.7/34.3)
  • ร้อยละเด็กที่คุยโทรศัพท์เป็นประจำ
    -ประถม 24.2 (23.4)
    -มัธยมต้น 26.4 (33.8)
    -มัธยมปลาย 42.0 (46.5)
    -อาชีวะ 55.9 (53.6)
    -อุดมศึกษา 51.1 (54.9)
  • ร้อยละเด็กที่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นประจำ (hi5, MSN,Chat)
    -ประถม 25.6 (21.5)
    -มัธยมต้น 29.6 (28.1)
    -มัธยมปลาย 30.6 (35.1)
    -อาชีวะ 33.0 (30.3)
    -อุดมศึกษา 36.7 (42.2)
  • เวลาที่ใช้คุยโทรศัพท์ต่อวัน (นาที)
    -ประถม 57.90 (58.30)
    -มัธยมต้น 112.16 (95.12)
    -มัธยมปลาย 108.46 (94.85)
    -อาชีวะ 147.84 (109.53)
    -อุดมศึกษา 108.54 (98.08)
  • เวลาที่ใช้เล่นอินเทอร์เน็ตต่อวัน (นาที)
    -ประถม 108.42 (99.59)
    -มัธยมต้น 162.49 (131.29)
    -มัธยมปลาย 147.45 (141.73)
    -อาชีวะ 175.87 (130.92)
    -อุดมศึกษา 142.08 (131.19)
  • ร้อยละเด็กที่ส่ง SMS เป็นประจำ
    -ประถม 14.3 (8.5)
    -มัธยมต้น 13.7 (15.2)
    -มัธยมปลาย 15.9 (18.1)
    -อาชีวะ 25.3 (18.3)
    -อุดมศึกษา 10.0 (11.2)
  • จำนวนครั้งที่เด็กส่ง SMS ต่อวัน
    -ประถม 2.73 (3.85)
    -มัธยมต้น 5.06 (5.80)
    -มัธยมปลาย 4.08 (5.17)
    -อาชีวะ 5.12 (5.67)
    -อุดมศึกษา 3.21 (4.32)
  • ร้อยละเด็กที่โหลดเพลง/ภาพ/เกม/ข้อความ ผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
    -ประถม 17.3 (14.9)
    -มัธยมต้น 16.4 (15.8)
    -มัธยมปลาย 13.4 (15.5)
    -อาชีวะ 17.6 (12.5)
    -อุดมศึกษา 13.0 (10.5)
  • จำนวนครั้งที่เด็กโหลดเพลง /ภาพ/เกม/ข้อความผ่านโทรศัพท์มือถือต่อวัน
    -ประถม 2.54 (4.37)
    -มัธยมต้น 4.98 (4.34)
    -มัธยมปลาย 3.53 (4.40)
    -อาชีวะ 4.36 (4.96)
    -อุดมศึกษา 4.65 (3.88)
  • ร้อยละเด็กเล่นเกม (ออนไลน์/คอมพิวเตอร์/เครื่องเล่นเกม)
    -ประถม 40.5 (33.5)
    -มัธยมต้น 28.5 (31.4)
    -มัธยมปลาย 18.6 (26.3)
    -อาชีวะ 25.6 (25.3)
    -อุดมศึกษา 26.0 (27.9)
  • เวลาที่ใช้เล่นเกม (ออนไลน์/คอมพิวเตอร์/เครื่องเล่นเกม) ต่อวัน (นาที)
    -ประถม 121.09 (106.14)
    -มัธยมต้น 153.16 (125.17)
    -มัธยมปลาย 131.93 (125.43)
    -อาชีวะ 189.57 (128.80)
    -อุดมศึกษา 125.52 (122.63)
  • ร้อยละเด็กอยู่บ้านเพื่อน
    -ประถม 13.2 (10.4)
    -มัธยมต้น 9.7 (10.9)
    -มัธยมปลาย 13.6 (11.3)
    -อาชีวะ 16.2 (15.0)
    -อุดมศึกษา 22.6 (21.5)
  • เวลาที่ใช้อยู่บ้านเพื่อนต่อวัน (นาที)
    -ประถม 105.67 (120.05)
    -มัธยมต้น 152.56 (132.08)
    -มัธยมปลาย 216.63 (159.87)
    -อาชีวะ 302.70 (148.32)
    -อุดมศึกษา 196.10 (178.98)
  • ร้อยละเด็กที่อยู่บ้านคนเดียวหลังเลิกเรียน
    -ประถม 16.4 (12.9)
    -มัธยมต้น 11.6 (12.1)
    -มัธยมปลาย 16.4 (15.5)
    -อาชีวะ 17.2 (15.2)
    -อุดมศึกษา 19.8 (16.9)
  • เวลาที่เด็กอยู่บ้านคนเดียวหลังเลิกเรียนต่อวัน (นาที)
    -ประถม 141.77 (113.11)
    -มัธยมต้น 133.00 (117.28)
    -มัธยมปลาย 160.45 (136.14)
    -อาชีวะ 139.41 (157.18)
    -อุดมศึกษา 202.46 (205.98)
  • ร้อยละของเด็กที่ยอมรับว่ามีเพศสัมพันธ์
    -มัธยมต้น 5.7 (6.2)
    -มัธยมปลาย 13.7 (15.0)
    -อาชีวะ 38.1 (39.5)
    -อุดมศึกษา 39.0 (44.0)
  • ร้อยละของเด็กที่คิดว่าจะมีเพศสัมพันธ์ก่อนเรียนจบ
    -มัธยมต้น 6.1 (7.5)
    -มัธยมปลาย 9.7 (7.7)
    -อาชีวะ 18.4 (12.0)
    -อุดมศึกษา 14.6 (13.7)
  • ร้อยละเด็กที่ยอมรับการอยู่ก่อนแต่งของนักเรียน/นักศึกษา
    -มัธยมต้น 30.2 (31.1)
    -มัธยมปลาย 38.9 (41.8)
    -อาชีวะ 53.4 (48.5)
    -อุดมศึกษา 60.8 (56.0)
  • ร้อยละเด็กที่มีเพื่อนนักเรียนรักเพศเดียวกัน
    -ประถม 12.2 (20.4)
    -มัธยมต้น 34.1 (38.7)
    -มัธยมปลาย 53.3 (47.3)
    -อาชีวะ 50.2 (36.6)
    -อุดมศึกษา 30.9 (43.4)
  • จำนวนเฉลี่ยของเพื่อนนักเรียนที่รักเพศเดียวกัน
    -ประถม 1.76 (1.90)
    -มัธยมต้น 2.13 (2.27)
    -มัธยมปลาย 3.24 (2.57)
    -อาชีวะ 3.34 (2.38)
    -อุดมศึกษา 1.96 (2.38)
  • ร้อยละเด็กที่ปรึกษาปัญหาส่วนตัวกับเพื่อนปานกลางถึงมาก
    -ประถม 70.9 (74.5)
    -มัธยมต้น 83.6 (85.4)
    -มัธยมปลาย 88.7 (91.3)
    -อาชีวะ 91.2 (86.5)
    -อุดมศึกษา 86.9 (82.0)
  • ร้อยละเด็กที่ปรึกษาปัญหาส่วนตัวกับครูอาจารย์
    -ประถม 54.7 (53.0)
    -มัธยมต้น 62.5 (56.6)
    -มัธยมปลาย 57.9 (61.2)
    -อาชีวะ 70.4 (64.9)
    -อุดมศึกษา 66.8 (58.0)
  • ร้อยละเด็กที่ปรึกษาปัญหาส่วนตัวกับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 87.0 (81.8)
    -มัธยมต้น 83.0 (83.3)
    -มัธยมปลาย 83.7 (86.1)
    -อาชีวะ 87.8 (81.2)
    -อุดมศึกษา 85.9 (80.4)
  • ร้อยละเด็กที่คิดว่าจังหวัดที่เรียนหนังสืออยู่นี้เป็นจังหวัดที่น่าอยู่ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 95.2 (93.2)
    -มัธยมต้น 93.1 (93.7)
    -มัธยมปลาย 94.0 (94.7)
    -อาชีวะ 98.3 (92.2)
    -อุดมศึกษา 92.8 (92.7)
  • ร้อยละเด็กที่จะกลับมาอาศัยอยู่ในจังหวัดที่เรียนหนังสืออยู่ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 94.5 (92.1)
    -มัธยมต้น 91.0 (92.7)
    -มัธยมปลาย 92.5 (93.3)
    -อาชีวะ 96.9 (90.7)
    -อุดมศึกษา 89.7 (88.4)
  • ร้อยเด็กที่เชื่อกฏแห่งกรรม ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 96.5 (92.2)
    -มัธยมต้น 91.3 (94.5)
    -มัธยมปลาย 93.5 (96.7)
    -อาชีวะ 96.9 (94.0)
    -อุดมศึกษา 94.0 (96.0)
  • ร้อยละเด็กที่เล่นไพ่และการพนันอื่นๆ ครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 10.9 (11.7)
    -มัธยมต้น 22.1 (24.6)
    -มัธยมปลาย 27.9 (28.9)
    -อาชีวะ 40.0 (32.2)
    -อุดมศึกษา 36.2 (37.4)
  • ร้อยละเด็กที่พนันบอลครั้งคราวถึงเป็นประจำ
    -ประถม 2.8 (4.0)
    -มัธยมต้น 8.3 (9.2)
    -มัธยมปลาย 14.1 (10.6)
    -อาชีวะ 16.9 (12.4)
    -อุดมศึกษา 15.7 (19.4)
  • ร้อยละเด็กที่ซื้อหวยใต้ดินเป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -ประถม 3.5 (4.3)
    -มัธยมต้น 12.3 (7.4)
    -มัธยมปลาย 14.1 (13.1)
    -อาชีวะ 12.8 (20.1)
    -อุดมศึกษา 28.5 (25.0)
  • ร้อยละเด็กที่ซื้อลอตเตอรี่เป็นครั้งคราวถึงประจำ
    -ประถม 5.6 (7.4)
    -มัธยมต้น 13.8 (9.6)
    -มัธยมปลาย 10.8 (12.4)
    -อาชีวะ 9.5 (19.1)
    -อุดมศึกษา 25.1 (24.5)
  • ร้อยละเด็กที่พบเห็นการพกพาหรือเสพยาเสพติดในสถานศึกษา
    -ประถม 7.8 (11.6)
    -มัธยมต้น 20.2 (18.1)
    -มัธยมปลาย 22.1 (21.5)
    -อาชีวะ 38.0 (29.0)
    -อุดมศึกษา 31.2 (25.4)
  • ร้อยละเด็กที่พบเห็นการพกพาอาวุธในสถานศึกษา
    -ประถม 27.7 (27.3)
    -มัธยมต้น 33.4 (35.9)
    -มัธยมปลาย 32.9 (35.3)
    -อาชีวะ 59.2 (36.7)
    -อุดมศึกษา 33.8 (30.8)
  • ร้อยละเด็กที่ถูกขู่กันโชค/ทำร้ายร่างกาย ในสถานศึกษา
    -ประถม 6.8/16.6 (10.5/21.7)
    -มัธยมต้น 18.7/27.9 (21.8/28.2)
    -มัธยมปลาย 18.3/26.1 (17.0/27.1)
    -อาชีวะ 14.3/35.4 (11.1/22.5)
    -อุดมศึกษา 10.1/16.6 (8.4/18.2)
  • ร้อยละเด็กที่คิดว่าประเทศเรามีการทุจริตคดโกง ปานกลางถึงมาก
    -ประถม 89.6 (82.0)
    -มัธยมต้น 87.9 (89.3)
    -มัธยมปลาย 92.2 (93.4)
    -อาชีวะ 97.3 (87.4)
    -อุดมศึกษา 90.9 (92.3)
  • อัตราส่วนกาจดทะเบียนสมรสต่อการหย่าร้าง 2.45 (2.46)
  • จำนวนเด็ก 19 ปีและต่ำกว่าที่มาทำคลอดต่อประชากรแสนคน
    -ภาพรวม 439.86 (2,930.12)
    -10-14 ปี NA (102.21)
    -15-19 ปี NA (3,360.67)
  • จำนวนเด็ก 18 ปีและต่ำกว่าที่ถูกละเมิศทางเพศต่อประชากรแสนคน 31.66 (51.39)
  • จำนวนเด็กที่ถูกส่งเข้าสถานพินิจต่อประชากรแสนคน 36.17 (65.00)
  • จำนวนเด็กขอรับการบำบัดยาเสพติดต่อประชากรแสนคน 1,046.38 (396.34)
  • จำนวนพื้นที่ดีต่อประชากรแสนคนทั้งจังหวัด 111.47 (80.80)
  • จำนวนพื้นที่ดีต่อประชากรแสนคนเฉพาะเขตอำเภอเมือง 199.10 (126.94)
  • จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อประชากรแสนคนทั้งจังหวัด 102.00 (65.06)
  • จำนวนพื้นที่เสี่ยงต่อประชากรแสนคนเฉพาะเขตอำเภอเมือง 170.04 (130.29)
  • จำนวนร้านอินเทอร์เน๊ตในเขต อ.เมือง ต่อประชากรแสนคน 48.85 (46.40)

ที่มา :
จินตนา เวชมี และทีมวิจัยภาคกลาง. (2553). บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เรื่องพฤติกรรมเด็กและเยาวชน โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคกลาง ปี 2551-2552. มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา : ศูนย์ประสานงานโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนภาคกลาง คณะครุศาสตร์.

อ่านต่อ >>